Thursday, June 22, 2006

 

ตอบกระทู้เรื่องคาถาชินบัญชรและยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อย่าไปยึดติดที่คาถา ขอให้เข้าถึงธรรมะจะดีกว่าครับพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้งมงาย ทุกสิ่งมาจากเหตุปัจจัยครับ ทำบุญ 1 แต่หวังได้ล้านคงเป็นไปไม่ได้ครับบทสวดชินบัญชรเป็นบทสวดที่แพร่หลายในภูมิภาคนี้ ทางไทย ศรีลังกา พม่า ล้านนา จากการศึกษาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช คาดว่าคาถานี้แต่งขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ อย่างช้าไม่เกินพระเจ้าติโลกมหาราช อย่างเร็วไม่เกินสมัยพระเจ้าอโนรธา (ระหว่าง พ.ศ. 1982-2150) และคงแต่งโดยพระเถระชาวล้านนาไม่ปรากฏชื่อแน่ชัด เป็นที่นิยมสวดอย่างแพร่หลายในเชียงใหม่และล้านนาก่อน ภายหลัง ลังกาและพม่าจึงรับเอาไปสวด เจ้าพระคุณสมเด็นพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นำมาปรับปรุงแก้ไขบางแห่งพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ชินบัญชร จนภายหลังเข้าใจกันไปว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นผู้แต่งขึ้นต้นฉบับเดิมมีเพียง 14 คาถาเท่านั้น ส่วนที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นภายหลังตามความนิยม บางฉบับมีเพียง 14 คาถา บางฉบับมี 15 คาถากึ่ง และบางฉบับมี 22 คาถา จากการรวบรวมพบว่า มี 8 ฉบับ ได้แก่ ฉบับวัดระฆัง, ฉบับนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, ฉบับ น.อ.(พิเศษ) แย้ม ประพัฒน์ทอง, ฉบับปรับปรุงโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน, ฉบับลังกา, ฉบับวัดท่ามะโอ จากพม่า, ฉบับนายเจมส์ เกรย์ จากพม่า, ฉบับล้านนาเนื้อหาของคาถาเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระปริตร มาสถิตยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย จึงถือว่าเป็นมงคล ไม่น่าจะเป็นเรื่องคาถาร้อน และไม่น่าจะเป็นคาถาที่แต่งขึ้นมาเพื่อไล่ผีนะครับส่วนยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นคาถาที่เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอานิสงส์ที่เขียนระบุไว้ยิ่งทำให้ผู้คนพิมพ์แจกกันอย่างแพร่หลายเพื่อให้ได้บุญยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนตัวผมนั้นไม่นิยมนัก เพราะรู้สึกถึงอิทธิพลพราหมณ์ในคาถานี้มากกว่าความเป็นพุทธ และเท่าที่ทราบ คาถานี้ก็ไม่ตรงตามหลักไวยากรณ์บาลี จึงแปลไม่ได้เจ้าคุณท่านหนึ่งที่ผมนับถือ เคยสอนผมว่าให้สวดบทพาหุงฯจะดีกว่า เพราะจะได้ทั้งธรรมะ ทั้งความศักดิ์สิทธิ์

Comments: Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]





<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

Subscribe to Posts [Atom]